2020-07-18 13:50
จำนวนครั้งที่อ่าน : 45
ผู้อ่านหาสมุดบันทึกเล่มเล็กๆ และปากกาพกติดตัวเป็นประจำ เมื่อไรก็ตามที่เกิดไอเดียปิ๊งแว๊บ ก็ขอให้รีบจดลงในสมุดทันทีครับ
สมุดที่เหมาะสมควรเป็นเล่มเล็กๆ ที่พกติดตัวได้สะดวก และเป็นสมุดเกาเหลา (ไม่มีเส้น) เพื่อจะได้วาดรูป ติดรูปภาพ เขียนมายด์แมป เขียนอย่างอิสระ ไร้ขีดจำกัด
ไอเดียดีๆ มักเกิดขึ้นในเวลาที่เราผ่อนคลาย เดินเล่น หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ดังนั้น ถ้าเรามีไอเดียดีๆ เกิดขึ้น และไม่รีบจด ไอเดียก็จะหลุดลอย การรีบจดไอเดียในขณะที่เกิดขึ้น จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเก็บไอเดียของเราไว้
เขียนอะไรก็ได้ครับ ในช่วงแรก เราอาจคิดไม่ค่อยออก ไม่ค่อยมีอะไรจด แต่เมื่อเขียนบ่อยๆ ไอเดียจะมากขึ้นเรื่อยๆ และเขียนได้มากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้อ่านอาจเขียนเรื่องที่ตัวเองสนใจก่อน เช่น เขียนคำคม เขียนชื่อเว็บไซต์ด้านสตาร์ทอัพ บทกลอน วาดรูป ตัดข่าว หรือแม้แต่เรื่องในชีวิตประจำวัน ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ ทั้งสิ้นในการเขียนสมุดบันทึก
ผมสังเกตว่า นิสิตที่ใช้สมุดบันทึกขนาดเล็กกว่าสมุด A4 แต่ใหญ่กว่าฝ่ามือเล็กน้อย และไม่หนาเกินไป จะจดบันทึกมากที่สุด
เดาว่า สมุดขนาดนี้ช่วยให้พกพาสะดวก ใส่กระเป๋าติดตัวได้ตลอดเวลา จึงจดบันทึกได้มากครับ ขนาดของสมุดบันทึกจึงอาจมีผลต่อการจดไอเดีย เพราะถ้าสมุดใหญ่เกินไป ก็เทอะทะ พกพาลำบาก สมุดเล็กเกินไป ก็เขียนไม่สะดวก
บุคคลสำคัญของโลกในวงการต่างๆ เช่น นักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน นักเขียน นักธุรกิจ นักการเมือง เป็นนักจดบันทึกทั้งนั้น
ตัวอย่างบุคคลสำคัญที่จดบันทึกเช่น เลโอนาร์โด ดาวินชี , ชาร์ลส ดาร์วิน , โทมัส อัลวา เอดิสัน , เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน
คนไทยเน้นความสำคัญของการเขียนมานานแล้ว เช่น หัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ คำว่า “ลิ” คือ ลิขิต ซึ่งหมายถึงการเขียนหรือการจดนั่นเอง
เนื่องจากวิชาการคิดเชิงนวัตกรรมจะให้นิสิตทุกคนจดบันทึกในสมุด นิสิตมักถามผมว่า “อาจารย์ครับ ทำไมเราไม่ใช้แอพจดบันทึกครับ เช่น แอพ Evernote ?”
สมุดกระดาษมีข้อดีหลายอย่างที่สมาร์ตโฟนเทียบไม่ได้ เช่น
แต่สมาร์ตโฟนก็เหนือกว่าสมุดกระดาษหลายเรื่อง เช่น
ในช่วงเริ่มต้น ผมขอแนะนำให้ใช้สมุดกับปากกา ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก ประหยัด และรวดเร็วที่สุด
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีแอพและเครื่องมือไฮเทคหลายตัวที่ช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผมจะเขียนบทความในเร็วๆ นี้
ผู้สอน CHULA MOOC ปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์